หน้าเว็บไซต์หลัก
หัวข้อ   “คะแนนนิยมนายกฯ อภิสิทธิ์”
                  ด้วยวันที่ 17 กันยายน ที่ผ่านมา เป็นวันครบรอบ 9 เดือนที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้รับการโปรดเกล้าฯ
ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของไทย   ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)  จึงได้ดำเนินการ
สำรวจความคิดเห็นเรื่อง “คะแนนนิยมนายกฯ อภิสิทธิ์” ขึ้น โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจากทุกภาค
ของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,565 คน เมื่อวันที่ 21-23 กันยายน ที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้
 
             1. คะแนนความพึงพอใจต่อการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
                 ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 4.62 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน

                             ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาคะแนนความพึงพอใจในแต่ละด้านพบว่า ประชาชนพึงพอใจในเรื่องความ
                 ซื่อสัตย์สุจริตมากที่สุด (5.37 คะแนน)
  แต่พึงพอใจเรื่องความเด็ดขาด กล้าตัดสินใจ
                 น้อยที่สุด (3.71 คะแนน)
  ดังรายละเอียดต่อไปนี้

 
คะแนน
(จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน)
ความซื่อสัตย์สุจริต
5.37
ความขยันทุ่มเทในการทำงาน
5.07
การรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติ
4.81
ความสามารถสร้างสรรค์ผลงานหรือโครงการใหม่ๆ
4.44
ความสามารถในการบริหารจัดการตามอำนาจหน้าที่ที่มี
4.31
ความเด็ดขาด กล้าตัดสินใจ
3.71
 
 
             2. หากเปรียบเทียบผลงานที่ปรากฏในขณะนี้กับความคาดหวังเมื่อตอนที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
                 ได้เป็นนายกรัฐมนตรี พบว่า


 
ร้อยละ
ดีกว่าที่คาดหวังไว้
12.0
พอๆ กับที่คาดหวังไว้
32.9
แย่กว่าที่คาดหวังไว้
24.0
ไม่ได้คาดหวังไว้
31.1
 
 
             3. จุดเด่นในการทำงานของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ควรได้รับการชื่นชมยกย่องมากที่สุด คือ
                 (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)


 
ร้อยละ
มีความพยายาม ตั้งใจทำงานเพื่อประชาชน
24.1
สุขุมรอบคอบ บุคลิกภาพดี วางตัวต่อสาธารณชนได้ดี
17.8
มีความซื่อสัตย์
14.2
ฉลาดพูด มีหลักการและมีทักษะในการพูดที่ดี
11.2
มีความมั่นใจในตัวเอง
7.6
เป็นคนเก่ง ฉลาด มีความรู้ มีวิสัยทัศน์
4.0
ไม่มีจุดเด่น
17.6
อื่นๆ อาทิ มีความอดทน ประนีประนอม เป็นต้น
3.5
 
 
             4. จุดด้อยในการทำงานของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ควรปรับปรุงแก้ไขมากที่สุด คือ
                
(เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
ไม่เด็ดขาด ไม่กล้าตัดสินใจ
43.5
ขาดความสามารถในการแก้ปัญหาต่างๆ ของประเทศ
13.0
มีอำนาจไม่เต็มที่ ขาดความเป็นตัวของตัวเอง ไม่สามารถตัดสินใจ
ด้วยตนเอง
7.5
ยังเข้าถึงประชาชนน้อยเกินไป
3.8
ทำงานช้า ไม่ค่อยเห็นผลงาน
3.8
ขาดภาวะผู้นำ
3.6
ทำไม่ได้อย่างที่พูด ไม่รักษาคำพูด พูดแล้วไม่ทำ
3.2
ขาดประสบการณ์
3.2
ไม่มีจุดด้อย
15.6
อื่นๆ อาทิ ขาดความรอบคอบ ยึดถือพวกพ้องมากเกินไป เป็นต้น
2.8
 
 
             5. สิ่งที่ต้องการให้นายกฯ อภิสิทธิ์ ทำมากที่สุดในขณะนี้ คือ

 
ร้อยละ
เดินหน้าทำงานต่อไป
51.5
ยุบสภา
21.7
ปรับคณะรัฐมนตรี
14.4
ลาออก
10.1
อื่นๆ อาทิ แก้รัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จ
2.3
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อประเมินความคิดเห็นของประชาชนต่อการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรีของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ในช่วงระยะเวลา 9 เดือนที่ผ่านมา
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนทั่วไปทุกสาขาอาชีพที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปทั้งในกรุงเทพฯ และ
ต่างจังหวัด   โดยในกรุงเทพมหานคร ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขต
การปกครองทั้งเขตชั้นนอก ชั้นกลาง และชั้นใน จำนวนทั้งสิ้น 22 เขต และแต่ละภาคสุ่มจังหวัดขึ้นมาเป็นตัวแทน ได้แก่
เชียงใหม่ เชียงราย ขอนแก่น ร้อยเอ็ด นครศรีธรรมราช สตูล เพชรบุรี และชลบุรี จากนั้นจึงสุ่มถนนและประชากรเป้าหมาย
ที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ  ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,565 คน  เป็นเพศชายร้อยละ 49.3  และเพศหญิงร้อยละ 50.7
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็น
แบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถาแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด
(Open Form) ากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและ
ประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 21 - 23 กันยายน 2552
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 28 กันยายน 2552
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
772
49.3
             หญิง
793
50.7
รวม
1,565
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
410
26.2
             26 – 35 ปี
405
25.9
             36 – 45 ปี
387
24.7
            46 ปีขึ้นไป
363
23.2
รวม
1,565
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
937
59.9
             ปริญญาตรี
537
34.3
             สูงกว่าปริญญาตรี
91
5.8
รวม
1,565
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
139
8.9
             พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน
371
23.7
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
467
29.8
             รับจ้างทั่วไป
229
14.6
             พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ
95
6.1
             อื่นๆ อาทิ นักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น
264
16.9
รวม
1,565
100.0
 
Vote:  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
 ผลคะแนนVote              
 
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776